"มาร์ค" แนะรัฐ 3 ข้อ แก้เกม "บีอาร์เอ็น" เห็นด้วยพักเจรจา ตั้งกติการ่วมฯ ย้ำ สถานะแค่กลุ่มขอเจรจาต่อรัฐ ลั่น เตือนแล้วไม่ฟัง ไทยเลยกลายเป็นฝ่ายที่ถูกผูกมัดฝ่ายเดียว


'อภิสิทธิ์'แนะรัฐ 3 ข้อ แก้เกม'บีอาร์เอ็น'บีบ
วันที่ 29 เม.. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่บุคคลที่อ้างเป็นตัวแทน "บีอาร์เอ็น" ได้ยื่นเงื่อนไข 5 ข้อต่อรัฐบาลไทยว่า รู้สึกหนักใจ เพราะการแสดงออกของกลุ่มบีอาร์เอ็น จะทำให้รัฐบาลอยู่ในฐานะที่ลำบาก คือ 1. มีการใช้ภาษาเหมือนกับรัฐบาล เป็นฝ่ายที่ทำผิด ซึ่งไม่เหมาะสม ซึ่งตนไม่เข้าใจว่า ทำไมในการลงนามพูดคุยไม่กำหนดให้ชัดว่าแต่ละฝ่ายต้องปฏิบัติอย่างไร 2. ข้อเรียกร้องที่จะดึงมาเลเซียจากผู้อำนวยความสะดวกมาเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ย และดึงองค์กรระหว่างประเทศมาเป็นคนกลาง จะทำให้เป็นปัญหาลุกลามมากยิ่งขึ้น และ 3.จะมีการใช้สถานการณ์ในพื้นที่มาเป็นเครื่องมือกดดันรัฐบาลมากขึ้น ดังนั้น รัฐบาลต้องกำหนดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนว่าจะรับมืออย่างไร โดยต้องกำหนดกฎกติกาให้ชัด ไม่ใช่ปล่อยให้บีอาร์เอ็นรุกคืบ เพิ่มข้อเรียกร้องเรื่อยๆ ในขณะที่รัฐบาลปฏิบัติลำบาก ในแง่เจ้าหน้าที่ในพื้นที่และกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนด้วย
          นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเคยเตือนแล้วว่า ในการลงนามครั้งแรกที่แสดงเจตนารมณ์ในการพูดคุยสันติภาพภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญนั้น ข้อความที่ไปลงนามก็ผูกมัดรัฐบาลไทยฝ่ายเดียว แต่บีอาร์เอ็น ไม่ได้แสดงเจตนารมณ์ใดๆ ในเรื่องนี้ด้วย รัฐบาลจึงต้องแก้ไขสถานการณ์นี้ ไม่เช่นนั้นจะถูกกดดันกลายเป็นฝ่ายตั้งรับ จนไม่มีอำนาจต่อรองในการเจรจาพูดคุย

          ซึ่งทุกฝ่ายก็แสดงความห่วงใยและเตือนมาแล้วว่า สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำอยู่จะเข้าทางบีอาร์เอ็น ซึ่งใช้วิธีการเดินคู่ขนาน ด้านหนึ่งเจรจา แต่อีกด้านก็จะเคลื่อนไหวในพื้นที่ แต่รัฐบาลยังขาดการกำหนดแนวทางที่รอบคอบและชัดเจนแต่ต้น ซึ่งรูปแบบการพูดคุยตนก็ไม่เห็นด้วยแต่แรก เพราะความจริงควรมีการตกลงรายละเอียดให้ได้ข้อสรุปก่อนจึงค่อยเปิดเผย แต่รัฐบาลนี้กลับเลือกที่จะใช้รูปแบบนี้ ด้วยเหตุผลทางการเมืองและการตลาด สุดท้ายก็ทำให้ทำงานยากลำบากมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ภาระหนักจึงไปอยู่ที่ เลขาฯ ศอ.บต. และเลขาฯ สมช.รวมถึงนายกฯ ว่า จะตัดสินใจกำหนดแนวทางอย่างไร โดยไม่ปล่อยให้สถานการณ์ไหลไปตามแนวทางของบีอาร์เอ็นเพียงฝ่ายเดียว
         
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า กลุ่มบีอาร์เอ็นพยายามที่จะยกระดับของปัญหาขึ้นไปสู่เวทีนานาชาติ โดยดำเนินการทั้งกดดันในพื้นที่หวังให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น ทำให้รัฐบาลไทยปฏิบัติยาก หากตอบโต้แรงก็จะเป็นเหยื่อการยั่วยุ แต่ถ้าไม่ทำอะไรเลย ก็กระทบความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งทั้งหมดนำไปสู่การกดดันในเรื่องการเจรจามากขึ้น เพราะหากบีอาร์เอ็นมีความจริงใจจริงก็ต้องคุยภายใน ไม่ใช่ลากคนนอก คนอื่นเข้ามา รัฐบาลต้องตั้งหลักใหม่ ไม่เช่นนั้นปัญหาจะลุกลามบานปลายไปใหญ่ส่วนกรณีที่เลขาฯ สมช.ระบุว่า หากการพูดคุยมีปัญหา อาจจะมีการหยุดพักการเจรจานั้นก็ถือเป็นดุลยพินิจของรัฐบาล ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะต้องคุยให้ชัดเจนเพื่อมีกติการ่วมกัน เพราะหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้จะไม่มีผลดีกับใครเลย และอยากให้รัฐบาลนี้เรียนรู้จากปัญหานี้ว่า การแก้ไขสถานการณ์ภาคใต้มีความละเอียดออ่น ต้องทำด้วยความรอบคอบ และเตรียมความพร้อมให้ทุกอย่างสอดรับกัน เมื่อถามว่าการพูดคุยครั้งที่ 3 นี้ เมื่อเทียบกับผลที่ออกมาคุ้มค่ากับการที่รัฐนำชีวิตของประชาชนไปเสี่ยงหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนย้ำแต่ต้นว่าไม่อยากให้ทำในรูปแบบนี้ แต่เมื่อรัฐบาลตัดสินใจไปแล้วก็ต้องเดินให้ได้ โดยตั้งหลักว่าเมื่อเขารุกคืบอย่างนี้จะจัดการอย่างไร ซึ่งต้องยืนยันว่า จะไม่ทำอะไรนอกกรอบที่ลงนามไปแล้ว และเรายอมรับ "บีอาร์เอ็น" เป็นแค่กลุ่มที่มาขอพูดคุยกับรัฐบาลเท่านั้น


kejadian di patani darussalam: ผบ.ทบ.ยัน ข้อเสนอ "บีอาร์เอ็น" ขึ้นอยู่กับรัฐบาลตั...

kejadian di patani darussalam: ผบ.ทบ.ยัน ข้อเสนอ "บีอาร์เอ็น" ขึ้นอยู่กับรัฐบาลตั...: ผบ . ทบ . ให้รัฐตัดสินใจ 5 ข้อเสนอบีอาร์เอ็น           วันที่ 29 เม . ย . ที่กรมการแพทย์ทหารบก พล . อ . ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ . ท...

ผบ.ทบ.ยัน ข้อเสนอ "บีอาร์เอ็น" ขึ้นอยู่กับรัฐบาลตัดสินใจ ชี้แม้ไม่เห็นด้วยตนก็เป็นเพียงแค่เสียงหนึ่ง หากคิดแก้ปัญหาต้องเป็นเอกภาพ รับห่วงคนเสื้อแดงชุมนุมขับไล่ตุลาการศาล รธน.


ผบ.ทบ.ให้รัฐตัดสินใจ 5 ข้อเสนอบีอาร์เอ็น
          วันที่ 29 เม.. ที่กรมการแพทย์ทหารบก พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. กล่าวถึงกรณีที่แกนนำบีอาร์เอ็น ยื่นข้อเสนอ 5 ข้อ ในการเจรจายุติ ว่า ไม่อยากให้มองกันมากนัก ถือเป็นเรื่องการขับเคลื่อนของแต่ละฝ่ายก็ทำกันไป ตนไม่อยากตอบคำถาม เพราะเป็นเรื่องของคณะทำงานเจรจาและอยู่ในกรอบที่กำหนดไว้ ตนในฐานะเป็น รอง ผอ.รมน. อยากให้สื่อเข้าใจว่า การทำงานมีหลายระดับ ทั้งระดับนโยบาย ฝ่ายปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติ หากสื่อมาถามเป็นเรื่องๆ ต่างฝ่ายก็ต่างตอบ ก็จะทำให้การแก้ปัญหายากขึ้น จึงอยากขอร้องว่าการแก้ปัญหามีหลายอย่างต้องช่วยกัน ใครจะเสนออะไรก็ได้ ขึ้นอยู่ที่เราจะทำหรือไม่ รับฟังหรือไม่ ขอให้เข้าช่องทางที่ถูกต้อง ซึ่งคณะทำงานที่ไปพูดคุยบอกแล้วว่า ต้องอยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ

ส่วนการตัดสินใจเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ในฐานะที่อยู่ฝ่ายความมั่นคง มีหน้าที่รักษาพื้นที่ให้ปลอดภัย การพูดคุยยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาและท้ายที่สุดอาจจะดีก็ได้
         
เมื่อถามว่าข้อเสนอทั้ง 5 ข้อ ของบีอาร์เอ็น รับได้หรือไม่ พล..ประยุทธ์ ย้อนถามว่า รับได้หรือไม่ ถ้าหากรับไม่ได้ก็ไม่ได้ ก็ถือว่าจบ ตนในฐานะ รอง ผอ.รมน.ไม่ใช่ ในฐานะ ผบ.ทบ. ซึ่งต้องมาพูดคุยกัน อย่าเอาตนไปเขียนอย่างนั้นต้องมาพูดคุยกันว่าจะเอาอย่างไรก่อนนำเข้าที่ประชุมในกรอบของรัฐบาลว่าจะเอากันอย่างไรเพราะการทำงานเป็นระบบคนที่ตัดสินใจคือ รัฐบาล โดยมีนายกฯ เป็นหัวหน้า ซึ่งมี ศอ.บต., กอ.รมน. และกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ โดยรัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบและตัดสินใจไม่ใช่ตน แม้ว่าตนจะสามารถตัดสินใจได้โดยบอกว่าไม่เห็นด้วย แต่ถ้าส่วนใหญ่เห็นด้วย ตนก็เป็นแค่เสียงหนึ่งเท่านั้น ที่ไม่เห็นด้วย ซึ่งคงไม่ใช่เพราะทุกอย่างต้องมีความเป็นเอกภาพ เพราะปัญหาทุกวันนี้มองว่า ไม่มีความเป็นเอกภาพ หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่เห็นด้วยละมีเหตุผลมากกว่า ก็ทำต่อกันไม่ได้ขอให้ไปว่ากันในที่ประชุม ซึ่งตนจะไม่ตอบข้างนอกว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ การไปพูดคุยเป็นเรื่องของคณะทำงานเพื่อแสวงหาทางออกด้วยสันติวิธีที่ต้องไป หาวิธีทำกันเอง ไปหารือกัน กลับมาก็มาพูดคุยกัน สิ่งที่สำคัญต้องระมัดระวังไม่ให้ใครเข้ามาแทรกแซงเพราะเป็นปัญหาภายในประเทศ 
          พล..ประยุทธ์ กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือกลุ่มคนเสื้อเเดงชุมนุมขับไล่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่า เรื่องนี้ รัฐบาลและตำรวจมีความเป็นห่วง ตนก็ห่วงอยู่ในระดับ 3 หากมีคำสั่งใช้ทหารตนก็พร้อมจะดูแล หากไม่ใช้ทหารก็ดูอยู่ห่างๆ
ทั้งนี้ บ้านเมืองมีกฎหมาย มีประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญ ตราบใดยังมีรัฐธรรมนูญและกฎหมายก็จะไม่มีใครทำอะไรได้ หากวันนี้ยังไม่โดนจับ วันหน้าก็ต้องโดนจับ และก็ต้องเป็นคดีความเหมือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี จะหนีกฎหมายคงไม่พ้น ดังนั้น ก็ต้องไปหาวิธีแก้ปัญหาอย่างไรต่อไปผมอยากขอร้อง บ้านเมืองตอนนี้กำลังเดินไปข้างหน้า ใครก็ตามที่จะทำอะไรก็แล้วแต่ ขอว่าอย่าไปทำอะไรที่ผิดกฎหมาย เพราะจะกลายเป็นแบบอย่างให้เด็กๆ ไม่เคารพกฎหมาย แล้วจะอยู่กันไม่ได้ ใครที่ขึ้นมาเป็นใหญ่ หากไม่มีกฎหมายก็ปกครองใครไม่ได้ ดังนั้น ต้องปกครองคนให้ได้ และต้องทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี แก้ปัญหาให้ถูกช่องทาง อย่านำทหารออกไปวุ่นวายในขณะนี้ เพราะไม่ใช่เรื่อง" พล..ประยุทธ์ กล่าว.