“มาร์ค” ไม่เชื่อเหตุเลื่อนถกบีอาร์เอ็น แนะนายกฯ หนีความรับผิดชอบไม่ได้ ซัดรัฐทำนโยบายสับสนไล่“เฉลิม”กลับไปถามรัฐบาลเอง...
วันที่ 10 เม.ย. พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านฯ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลเลื่อนการพูดคุยสันติภาพกับกลุ่มบีอาร์เอ็น ในวันที่ 29 เม.ย. 56 ออกไปโดยไม่มีกำหนดว่า รัฐบาลต้องมีจุดยืนที่ชัด เพราะไม่มีเหตุผลในการเลื่อนการเจรจา เพราะคนกลางที่อำนวยความสะดวก ก็ไม่เกี่ยวกับการเลือกตั้งของมาเลเซีย ที่สำคัญสถานการณ์ในขณะนี้ ความเสี่ยงอยู่ที่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ต่างหากที่มีมาก หากจะปล่อยให้ยืดเวลาออกไปอีก คงไม่ถูกต้อง ทั้งที่ตัวแทนบีอาร์เอ็น ควรจะมาชี้แจงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และส่วนตัวก็ไม่แน่ใจว่า การที่อ้างว่ามาเลเซียติดการเลือกตั้งเป็นเหตุผลที่แท้จริงหรือไม่ ซึ่งส่วนตัวก็สงสัยว่าทำไมต้อเลื่อน เพราะไม่เป็นผลดีกับประเทศ ทาง สมช.และรัฐบาลต้องยืนยัน ที่จะพูดคุยตามกรอบเวลาเดิม และรัฐบาลไม่ควรมีแนวคิดเอาความมั่นคงของประเทศไทย ไปอิงกับการเมืองของประเทศมาเลเซีย เพราะเป็นปัญหาของประเทศไทย และเป็นความเสี่ยงเป็นของคนไทย เมื่อรัฐบาลตัดสินใจที่จะพูดคุยก็ต้องเดินหน้าต่อ เนื่องจากที่ผ่านมา ผลที่ออกมามีการยกระดับความรุนแรง ทำในเชิงสัญลักษณ์ไปแล้วจึงต้องแก้ปัญหาต่อ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ส่วนตัวไม่อยากให้นายกฯ คิดแต่เรื่องของการเมือง หรือการลอยตัวออกจากปัญหา เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์ทางการเมืองของตัวเอง แต่ขอให้คิดถึงความรับผิดชอบในตำแหน่ง และความรับผิดชอบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ เพราะนายกฯ สามารถดูแลฝ่ายความมั่นคง เป็นผู้กำหนดนโยบายสูงสุด ปัญหาที่เกิดขึ้นรุนแรงขนาดนี้ นายกฯจำเป็นต้องเข้ามาแก้ไขเอง อย่าคิดว่าถ้าไม่ยุ่งเกี่ยวก็ไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะที่สุดก็หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบไม่ได้ จึงควรตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ และดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนมากกว่าที่จะคิดถึงประโยชน์ทางการเมืองของตัวเอง
ส่วนกรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี บอกจะพานายอภิสิทธิ์ลงพื้นที่ภาคใต้ด้วยนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไปเองได้ และ ร.ต.อ.เฉลิม ไม่ต้องมาดูแล และเห็นว่าปัญหาที่ ร.ต.อ.เฉลิม จะลงหรือไม่ลงพื้นที่ภาคใต้เป็นเรื่องเล็กไปแล้ว แต่ประเด็นที่ว่า นายกฯ มอบหมายงานให้คนที่ไม่พร้อมลงพื้นที่ ที่สะท้อนปัญหาเรื่องความเหมาะสม ประสิทธิภาพ การบังคับบัญชากระทบเอกภาพในการแก้ปัญหา
เมื่อถามว่า ร.ต.อ.เฉลิม ระบุว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะรัฐบาลใช้นโยบายการเมืองนำการทหาร จนอาจกลายเป็นการส่งสัญญาณว่ารัฐบาลกำลังเปลี่ยนแปลงแนวทางการแก้ปัญหา นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถือเป็นตัวอย่างความสับสนในนโยบายของฝ่ายปฏิบัติว่า รัฐบาลมีนโยบายอย่างไร เพราะในวันที่ยืนยันว่าจะคุยสันติภาพก็บอกการเมือง นำการทหาร แต่วันนี้ กลับพูดอีกอย่างจึงไม่ทราบว่าใครบังคับบัญชาใครไม่รู้จะมีผลในทางปฏิบัติหรือไม่
อีกทั้งที่
วันที่ 10 เม.ย. พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านฯ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลเลื่อนการพูดคุยสันติภาพกับกลุ่มบีอาร์เอ็น ในวันที่ 29 เม.ย. 56 ออกไปโดยไม่มีกำหนดว่า รัฐบาลต้องมีจุดยืนที่ชัด เพราะไม่มีเหตุผลในการเลื่อนการเจรจา เพราะคนกลางที่อำนวยความสะดวก ก็ไม่เกี่ยวกับการเลือกตั้งของมาเลเซีย ที่สำคัญสถานการณ์ในขณะนี้ ความเสี่ยงอยู่ที่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ต่างหากที่มีมาก หากจะปล่อยให้ยืดเวลาออกไปอีก คงไม่ถูกต้อง ทั้งที่ตัวแทนบีอาร์เอ็น ควรจะมาชี้แจงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และส่วนตัวก็ไม่แน่ใจว่า การที่อ้างว่ามาเลเซียติดการเลือกตั้งเป็นเหตุผลที่แท้จริงหรือไม่ ซึ่งส่วนตัวก็สงสัยว่าทำไมต้อเลื่อน เพราะไม่เป็นผลดีกับประเทศ ทาง สมช.และรัฐบาลต้องยืนยัน ที่จะพูดคุยตามกรอบเวลาเดิม และรัฐบาลไม่ควรมีแนวคิดเอาความมั่นคงของประเทศไทย ไปอิงกับการเมืองของประเทศมาเลเซีย เพราะเป็นปัญหาของประเทศไทย และเป็นความเสี่ยงเป็นของคนไทย เมื่อรัฐบาลตัดสินใจที่จะพูดคุยก็ต้องเดินหน้าต่อ เนื่องจากที่ผ่านมา ผลที่ออกมามีการยกระดับความรุนแรง ทำในเชิงสัญลักษณ์ไปแล้วจึงต้องแก้ปัญหาต่อ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ส่วนตัวไม่อยากให้นายกฯ คิดแต่เรื่องของการเมือง หรือการลอยตัวออกจากปัญหา เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์ทางการเมืองของตัวเอง แต่ขอให้คิดถึงความรับผิดชอบในตำแหน่ง และความรับผิดชอบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ เพราะนายกฯ สามารถดูแลฝ่ายความมั่นคง เป็นผู้กำหนดนโยบายสูงสุด ปัญหาที่เกิดขึ้นรุนแรงขนาดนี้ นายกฯจำเป็นต้องเข้ามาแก้ไขเอง อย่าคิดว่าถ้าไม่ยุ่งเกี่ยวก็ไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะที่สุดก็หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบไม่ได้ จึงควรตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ และดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนมากกว่าที่จะคิดถึงประโยชน์ทางการเมืองของตัวเอง
ส่วนกรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี บอกจะพานายอภิสิทธิ์ลงพื้นที่ภาคใต้ด้วยนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไปเองได้ และ ร.ต.อ.เฉลิม ไม่ต้องมาดูแล และเห็นว่าปัญหาที่ ร.ต.อ.เฉลิม จะลงหรือไม่ลงพื้นที่ภาคใต้เป็นเรื่องเล็กไปแล้ว แต่ประเด็นที่ว่า นายกฯ มอบหมายงานให้คนที่ไม่พร้อมลงพื้นที่ ที่สะท้อนปัญหาเรื่องความเหมาะสม ประสิทธิภาพ การบังคับบัญชากระทบเอกภาพในการแก้ปัญหา
เมื่อถามว่า ร.ต.อ.เฉลิม ระบุว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะรัฐบาลใช้นโยบายการเมืองนำการทหาร จนอาจกลายเป็นการส่งสัญญาณว่ารัฐบาลกำลังเปลี่ยนแปลงแนวทางการแก้ปัญหา นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถือเป็นตัวอย่างความสับสนในนโยบายของฝ่ายปฏิบัติว่า รัฐบาลมีนโยบายอย่างไร เพราะในวันที่ยืนยันว่าจะคุยสันติภาพก็บอกการเมือง นำการทหาร แต่วันนี้ กลับพูดอีกอย่างจึงไม่ทราบว่าใครบังคับบัญชาใครไม่รู้จะมีผลในทางปฏิบัติหรือไม่
อีกทั้งที่
ร.ต.อ.เฉลิม ระบุว่า กลุ่มก่อความไม่สงบไม่รักษาคำพูดนั้น ก็ต้องถามว่า ร.ต.อ.เฉลิม จะแนะนำรัฐบาลอย่างไร ในการที่จะไปพูดคุยกับคนที่ไม่รักษาคำพูด ก็ต้องไปถามรัฐบาลของตัวเองว่าจะพูดกันต่อหรือไม่ แต่ถ้าถามตนก็เห็นว่าจำเป็นต้องคุยต่อ โดยกำหนดแนวปฏิบัติที่จะลดความรุนแรงให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมก่อน.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น