hak yang ada kuasa untuk berhanti masalah yang ber laku ada rakyat patani semua bukan orang seorang bulih mengambil keputusan, karena itu punyaan rakyat patani bukan milik pribadi


            ผู้ทรงคุณวุฒิจังหวัดยะลา เชื่อป้ายผ้าทั่ว 3 จังหวัดชายแดนใต้ เรียกร้องเจรจากับผู้มีอำนาจ  ไม่ใช่ไม่รับเจรจา แนะภาครัฐพูดภาษาเดียวกันให้เป็นเอกภาพก่อนมาเจรจา ...
            วันที่ 12 เมษายน นายนิมุ มะกาเจ ผู้ทรงคุณวุฒิจังหวัดยะลา และอดีตรองประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา เปิดเผยถึงกรณี ที่มีการขึงผืนผ้าทั่วพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 2 อำเภอในจังหวัดสงขลา ว่า ฝ่ายผู้ก่อการได้แสดงถึงว่า เขามีผู้ทำงาน มีศักยภาพ จะเป็นกลุ่มเปอมูดอ หรือกลุ่มอื่นๆ การติดตั้งในที่สูงๆ นั้น แสดงให้เห็นว่า การติดตั้งต้องใช้เวลา ข้อสำคัญการเขียน ถ้าไปตรวจสอบให้ชัด ลีลาหรือลายมือ การเขียนแตกต่างกัน แสดงว่าการเขียนนั้นได้แบ่งชัดเจนว่าจุดใครจุดมัน เท่าที่ได้ติดตามข่าว มีการแปลจากสื่อที่ผิดๆ ข้อเท็จจริงที่ได้อ่านข้อความที่ถูกต้องคือ ต้องแปลว่า การเจรจาสันติภาพต้องเจรจากับผู้มีอำนาจ ดังนั้น ขอเรียกร้องให้ตีความให้ถูกต้องว่า ผู้มีอำนาจที่ว่านั้นเป็นใคร และคำที่เขียนออกมานั้น ให้ผู้มีอำนาจไปวิเคราะห์ว่า การที่เขาเขียนมานั้นเป็นการเตือนใครอย่างไร ไม่ถึงกับการห้ามเจรจา เพียงแต่การคัดสรรผู้ไปเจรจากับผู้มารับการเจรจาอยู่ในระดับใดจึงจะเป็นที่ยอมรับ
            นายนิมุ ยังกล่าวอีกว่า ต้องยอมรับว่าเหตุที่เกิดขึ้นในพื้นที่บ้านเรา เกิดขึ้นจากหลายๆ กลุ่ม มีทั้งผู้สนับสนุน ผู้ค้าน ผู้แสวงหาผลประโยชน์ร่วม เพราะฉะนั้น การเกิดเหตุเช่นนี้ คงจะเกิดขึ้นเรื่อยๆ ไปจนกว่าจะมีอำนาจที่สั่งการหรือสั่งห้ามได้อย่างเด็ดขาด ดังนั้น ตนอยากให้คนของรัฐหันมาพูดภาษาเดียวกันก่อน ให้เกิดความเอกภาพก่อน ขณะนี้ชาวบ้านเฝ้าจับตาดูว่า ฝ่ายรัฐนั้นมีความเป็นเอกภาพในเรื่องดังกล่าวหรือไม่ เท่าที่ตนมองว่าขณะนี้ทั้ง ทหาร ตำรวจฝ่ายปกครอง หรือผู้นำประเทศ ยังไปคนละทางกันอยู่ สรุปว่าผู้ที่ทำป้ายผ้าเหล่านี้ต้องการให้หาผู้รับการเจรจาที่มีอำนาจสูงสุด.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น