'อภิสิทธิ์'แนะรัฐ 3
ข้อ แก้เกม'บีอาร์เอ็น'บีบ
วันที่ 29
เม.ย. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่บุคคลที่อ้างเป็นตัวแทน "บีอาร์เอ็น" ได้ยื่นเงื่อนไข 5
ข้อต่อรัฐบาลไทยว่า รู้สึกหนักใจ เพราะการแสดงออกของกลุ่มบีอาร์เอ็น จะทำให้รัฐบาลอยู่ในฐานะที่ลำบาก คือ 1. มีการใช้ภาษาเหมือนกับรัฐบาล เป็นฝ่ายที่ทำผิด ซึ่งไม่เหมาะสม ซึ่งตนไม่เข้าใจว่า ทำไมในการลงนามพูดคุยไม่กำหนดให้ชัดว่าแต่ละฝ่ายต้องปฏิบัติอย่างไร 2.
ข้อเรียกร้องที่จะดึงมาเลเซียจากผู้อำนวยความสะดวกมาเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ย และดึงองค์กรระหว่างประเทศมาเป็นคนกลาง จะทำให้เป็นปัญหาลุกลามมากยิ่งขึ้น และ 3.จะมีการใช้สถานการณ์ในพื้นที่มาเป็นเครื่องมือกดดันรัฐบาลมากขึ้น ดังนั้น รัฐบาลต้องกำหนดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนว่าจะรับมืออย่างไร โดยต้องกำหนดกฎกติกาให้ชัด ไม่ใช่ปล่อยให้บีอาร์เอ็นรุกคืบ เพิ่มข้อเรียกร้องเรื่อยๆ ในขณะที่รัฐบาลปฏิบัติลำบาก ในแง่เจ้าหน้าที่ในพื้นที่และกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนด้วย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเคยเตือนแล้วว่า ในการลงนามครั้งแรกที่แสดงเจตนารมณ์ในการพูดคุยสันติภาพภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญนั้น ข้อความที่ไปลงนามก็ผูกมัดรัฐบาลไทยฝ่ายเดียว แต่บีอาร์เอ็น ไม่ได้แสดงเจตนารมณ์ใดๆ ในเรื่องนี้ด้วย รัฐบาลจึงต้องแก้ไขสถานการณ์นี้ ไม่เช่นนั้นจะถูกกดดันกลายเป็นฝ่ายตั้งรับ จนไม่มีอำนาจต่อรองในการเจรจาพูดคุย
ซึ่งทุกฝ่ายก็แสดงความห่วงใยและเตือนมาแล้วว่า สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำอยู่จะเข้าทางบีอาร์เอ็น ซึ่งใช้วิธีการเดินคู่ขนาน ด้านหนึ่งเจรจา แต่อีกด้านก็จะเคลื่อนไหวในพื้นที่ แต่รัฐบาลยังขาดการกำหนดแนวทางที่รอบคอบและชัดเจนแต่ต้น ซึ่งรูปแบบการพูดคุยตนก็ไม่เห็นด้วยแต่แรก เพราะความจริงควรมีการตกลงรายละเอียดให้ได้ข้อสรุปก่อนจึงค่อยเปิดเผย แต่รัฐบาลนี้กลับเลือกที่จะใช้รูปแบบนี้ ด้วยเหตุผลทางการเมืองและการตลาด สุดท้ายก็ทำให้ทำงานยากลำบากมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ภาระหนักจึงไปอยู่ที่ เลขาฯ ศอ.บต. และเลขาฯ สมช.รวมถึงนายกฯ ว่า จะตัดสินใจกำหนดแนวทางอย่างไร โดยไม่ปล่อยให้สถานการณ์ไหลไปตามแนวทางของบีอาร์เอ็นเพียงฝ่ายเดียว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า กลุ่มบีอาร์เอ็นพยายามที่จะยกระดับของปัญหาขึ้นไปสู่เวทีนานาชาติ โดยดำเนินการทั้งกดดันในพื้นที่หวังให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น ทำให้รัฐบาลไทยปฏิบัติยาก หากตอบโต้แรงก็จะเป็นเหยื่อการยั่วยุ แต่ถ้าไม่ทำอะไรเลย ก็กระทบความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งทั้งหมดนำไปสู่การกดดันในเรื่องการเจรจามากขึ้น เพราะหากบีอาร์เอ็นมีความจริงใจจริงก็ต้องคุยภายใน ไม่ใช่ลากคนนอก คนอื่นเข้ามา รัฐบาลต้องตั้งหลักใหม่ ไม่เช่นนั้นปัญหาจะลุกลามบานปลายไปใหญ่ส่วนกรณีที่เลขาฯ สมช.ระบุว่า หากการพูดคุยมีปัญหา อาจจะมีการหยุดพักการเจรจานั้นก็ถือเป็นดุลยพินิจของรัฐบาล ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะต้องคุยให้ชัดเจนเพื่อมีกติการ่วมกัน เพราะหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้จะไม่มีผลดีกับใครเลย และอยากให้รัฐบาลนี้เรียนรู้จากปัญหานี้ว่า การแก้ไขสถานการณ์ภาคใต้มีความละเอียดออ่น ต้องทำด้วยความรอบคอบ และเตรียมความพร้อมให้ทุกอย่างสอดรับกัน เมื่อถามว่าการพูดคุยครั้งที่ 3 นี้ เมื่อเทียบกับผลที่ออกมาคุ้มค่ากับการที่รัฐนำชีวิตของประชาชนไปเสี่ยงหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนย้ำแต่ต้นว่าไม่อยากให้ทำในรูปแบบนี้ แต่เมื่อรัฐบาลตัดสินใจไปแล้วก็ต้องเดินให้ได้ โดยตั้งหลักว่าเมื่อเขารุกคืบอย่างนี้จะจัดการอย่างไร ซึ่งต้องยืนยันว่า จะไม่ทำอะไรนอกกรอบที่ลงนามไปแล้ว และเรายอมรับ "บีอาร์เอ็น" เป็นแค่กลุ่มที่มาขอพูดคุยกับรัฐบาลเท่านั้น
ซึ่งทุกฝ่ายก็แสดงความห่วงใยและเตือนมาแล้วว่า สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำอยู่จะเข้าทางบีอาร์เอ็น ซึ่งใช้วิธีการเดินคู่ขนาน ด้านหนึ่งเจรจา แต่อีกด้านก็จะเคลื่อนไหวในพื้นที่ แต่รัฐบาลยังขาดการกำหนดแนวทางที่รอบคอบและชัดเจนแต่ต้น ซึ่งรูปแบบการพูดคุยตนก็ไม่เห็นด้วยแต่แรก เพราะความจริงควรมีการตกลงรายละเอียดให้ได้ข้อสรุปก่อนจึงค่อยเปิดเผย แต่รัฐบาลนี้กลับเลือกที่จะใช้รูปแบบนี้ ด้วยเหตุผลทางการเมืองและการตลาด สุดท้ายก็ทำให้ทำงานยากลำบากมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ภาระหนักจึงไปอยู่ที่ เลขาฯ ศอ.บต. และเลขาฯ สมช.รวมถึงนายกฯ ว่า จะตัดสินใจกำหนดแนวทางอย่างไร โดยไม่ปล่อยให้สถานการณ์ไหลไปตามแนวทางของบีอาร์เอ็นเพียงฝ่ายเดียว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า กลุ่มบีอาร์เอ็นพยายามที่จะยกระดับของปัญหาขึ้นไปสู่เวทีนานาชาติ โดยดำเนินการทั้งกดดันในพื้นที่หวังให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น ทำให้รัฐบาลไทยปฏิบัติยาก หากตอบโต้แรงก็จะเป็นเหยื่อการยั่วยุ แต่ถ้าไม่ทำอะไรเลย ก็กระทบความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งทั้งหมดนำไปสู่การกดดันในเรื่องการเจรจามากขึ้น เพราะหากบีอาร์เอ็นมีความจริงใจจริงก็ต้องคุยภายใน ไม่ใช่ลากคนนอก คนอื่นเข้ามา รัฐบาลต้องตั้งหลักใหม่ ไม่เช่นนั้นปัญหาจะลุกลามบานปลายไปใหญ่ส่วนกรณีที่เลขาฯ สมช.ระบุว่า หากการพูดคุยมีปัญหา อาจจะมีการหยุดพักการเจรจานั้นก็ถือเป็นดุลยพินิจของรัฐบาล ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะต้องคุยให้ชัดเจนเพื่อมีกติการ่วมกัน เพราะหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้จะไม่มีผลดีกับใครเลย และอยากให้รัฐบาลนี้เรียนรู้จากปัญหานี้ว่า การแก้ไขสถานการณ์ภาคใต้มีความละเอียดออ่น ต้องทำด้วยความรอบคอบ และเตรียมความพร้อมให้ทุกอย่างสอดรับกัน เมื่อถามว่าการพูดคุยครั้งที่ 3 นี้ เมื่อเทียบกับผลที่ออกมาคุ้มค่ากับการที่รัฐนำชีวิตของประชาชนไปเสี่ยงหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนย้ำแต่ต้นว่าไม่อยากให้ทำในรูปแบบนี้ แต่เมื่อรัฐบาลตัดสินใจไปแล้วก็ต้องเดินให้ได้ โดยตั้งหลักว่าเมื่อเขารุกคืบอย่างนี้จะจัดการอย่างไร ซึ่งต้องยืนยันว่า จะไม่ทำอะไรนอกกรอบที่ลงนามไปแล้ว และเรายอมรับ "บีอาร์เอ็น" เป็นแค่กลุ่มที่มาขอพูดคุยกับรัฐบาลเท่านั้น