kejadian di patani darussalam: ผบ.ทบ.ยัน ข้อเสนอ "บีอาร์เอ็น" ขึ้นอยู่กับรัฐบาลตั...

kejadian di patani darussalam: ผบ.ทบ.ยัน ข้อเสนอ "บีอาร์เอ็น" ขึ้นอยู่กับรัฐบาลตั...: ผบ . ทบ . ให้รัฐตัดสินใจ 5 ข้อเสนอบีอาร์เอ็น           วันที่ 29 เม . ย . ที่กรมการแพทย์ทหารบก พล . อ . ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ . ท...

ผบ.ทบ.ยัน ข้อเสนอ "บีอาร์เอ็น" ขึ้นอยู่กับรัฐบาลตัดสินใจ ชี้แม้ไม่เห็นด้วยตนก็เป็นเพียงแค่เสียงหนึ่ง หากคิดแก้ปัญหาต้องเป็นเอกภาพ รับห่วงคนเสื้อแดงชุมนุมขับไล่ตุลาการศาล รธน.


ผบ.ทบ.ให้รัฐตัดสินใจ 5 ข้อเสนอบีอาร์เอ็น
          วันที่ 29 เม.. ที่กรมการแพทย์ทหารบก พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. กล่าวถึงกรณีที่แกนนำบีอาร์เอ็น ยื่นข้อเสนอ 5 ข้อ ในการเจรจายุติ ว่า ไม่อยากให้มองกันมากนัก ถือเป็นเรื่องการขับเคลื่อนของแต่ละฝ่ายก็ทำกันไป ตนไม่อยากตอบคำถาม เพราะเป็นเรื่องของคณะทำงานเจรจาและอยู่ในกรอบที่กำหนดไว้ ตนในฐานะเป็น รอง ผอ.รมน. อยากให้สื่อเข้าใจว่า การทำงานมีหลายระดับ ทั้งระดับนโยบาย ฝ่ายปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติ หากสื่อมาถามเป็นเรื่องๆ ต่างฝ่ายก็ต่างตอบ ก็จะทำให้การแก้ปัญหายากขึ้น จึงอยากขอร้องว่าการแก้ปัญหามีหลายอย่างต้องช่วยกัน ใครจะเสนออะไรก็ได้ ขึ้นอยู่ที่เราจะทำหรือไม่ รับฟังหรือไม่ ขอให้เข้าช่องทางที่ถูกต้อง ซึ่งคณะทำงานที่ไปพูดคุยบอกแล้วว่า ต้องอยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ

ส่วนการตัดสินใจเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ในฐานะที่อยู่ฝ่ายความมั่นคง มีหน้าที่รักษาพื้นที่ให้ปลอดภัย การพูดคุยยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาและท้ายที่สุดอาจจะดีก็ได้
         
เมื่อถามว่าข้อเสนอทั้ง 5 ข้อ ของบีอาร์เอ็น รับได้หรือไม่ พล..ประยุทธ์ ย้อนถามว่า รับได้หรือไม่ ถ้าหากรับไม่ได้ก็ไม่ได้ ก็ถือว่าจบ ตนในฐานะ รอง ผอ.รมน.ไม่ใช่ ในฐานะ ผบ.ทบ. ซึ่งต้องมาพูดคุยกัน อย่าเอาตนไปเขียนอย่างนั้นต้องมาพูดคุยกันว่าจะเอาอย่างไรก่อนนำเข้าที่ประชุมในกรอบของรัฐบาลว่าจะเอากันอย่างไรเพราะการทำงานเป็นระบบคนที่ตัดสินใจคือ รัฐบาล โดยมีนายกฯ เป็นหัวหน้า ซึ่งมี ศอ.บต., กอ.รมน. และกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ โดยรัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบและตัดสินใจไม่ใช่ตน แม้ว่าตนจะสามารถตัดสินใจได้โดยบอกว่าไม่เห็นด้วย แต่ถ้าส่วนใหญ่เห็นด้วย ตนก็เป็นแค่เสียงหนึ่งเท่านั้น ที่ไม่เห็นด้วย ซึ่งคงไม่ใช่เพราะทุกอย่างต้องมีความเป็นเอกภาพ เพราะปัญหาทุกวันนี้มองว่า ไม่มีความเป็นเอกภาพ หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่เห็นด้วยละมีเหตุผลมากกว่า ก็ทำต่อกันไม่ได้ขอให้ไปว่ากันในที่ประชุม ซึ่งตนจะไม่ตอบข้างนอกว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ การไปพูดคุยเป็นเรื่องของคณะทำงานเพื่อแสวงหาทางออกด้วยสันติวิธีที่ต้องไป หาวิธีทำกันเอง ไปหารือกัน กลับมาก็มาพูดคุยกัน สิ่งที่สำคัญต้องระมัดระวังไม่ให้ใครเข้ามาแทรกแซงเพราะเป็นปัญหาภายในประเทศ 
          พล..ประยุทธ์ กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือกลุ่มคนเสื้อเเดงชุมนุมขับไล่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่า เรื่องนี้ รัฐบาลและตำรวจมีความเป็นห่วง ตนก็ห่วงอยู่ในระดับ 3 หากมีคำสั่งใช้ทหารตนก็พร้อมจะดูแล หากไม่ใช้ทหารก็ดูอยู่ห่างๆ
ทั้งนี้ บ้านเมืองมีกฎหมาย มีประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญ ตราบใดยังมีรัฐธรรมนูญและกฎหมายก็จะไม่มีใครทำอะไรได้ หากวันนี้ยังไม่โดนจับ วันหน้าก็ต้องโดนจับ และก็ต้องเป็นคดีความเหมือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี จะหนีกฎหมายคงไม่พ้น ดังนั้น ก็ต้องไปหาวิธีแก้ปัญหาอย่างไรต่อไปผมอยากขอร้อง บ้านเมืองตอนนี้กำลังเดินไปข้างหน้า ใครก็ตามที่จะทำอะไรก็แล้วแต่ ขอว่าอย่าไปทำอะไรที่ผิดกฎหมาย เพราะจะกลายเป็นแบบอย่างให้เด็กๆ ไม่เคารพกฎหมาย แล้วจะอยู่กันไม่ได้ ใครที่ขึ้นมาเป็นใหญ่ หากไม่มีกฎหมายก็ปกครองใครไม่ได้ ดังนั้น ต้องปกครองคนให้ได้ และต้องทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี แก้ปัญหาให้ถูกช่องทาง อย่านำทหารออกไปวุ่นวายในขณะนี้ เพราะไม่ใช่เรื่อง" พล..ประยุทธ์ กล่าว.


'กลุ่มวาดะห์' ชี้ 5 ข้อเสนอบีอาร์เอ็น น่ารับได้ 4 ข้อ



นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ ที่ปรึกษาดับไฟใต้ของ ...เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ชี้ 5 ข้อเสนอบีอาร์เอ็น น่ารับได้ 4 ข้อ เว้นข้อปล่อยแนวร่วม ต้องแยกแยะกลุ่มอุดมการณ์กับกลุ่มที่สังหารประชาชนผู้บริสุทธิ์...
          นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ สมาชิกกลุ่มวาดะห์ ในฐานะที่ปรึกษาดับไฟใต้ของ ...เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวกับ ไทยรัฐออนไลน์ ถึงกรณีที่ นายฮัสซัน ตอยิบ และนายอับดุลการิม คอลิบ แกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็น ได้โพสต์คลิปวิดีโอ เปิดเผย 5 ข้อเรียกร้องถึงรัฐบาลไทย ก่อนที่จะมีการพูดคุยรอบใหม่ในวันนี้ (29 เม.. 56) ว่า โดยส่วนตัวมองว่า ในข้อเรียกร้องทั้ง 5 ข้อ ไม่ใช่ข้อเรียกร้องที่ไกลเกินไปกว่าที่ได้คาดหมายเอาไว้ในตอนแรก และในข้อที่ 1. คือการให้ไทยยอมรับให้ประเทศมาเลเซียเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ย 2. การพูดคุยจะเป็นการพูดคุยระหว่างกลุ่มบีอาร์เอ็นและรัฐบาลไทย 3. การให้มีพยานจากอาเซียนและองค์การความร่วมมือแห่งศาสนาอิสลาม หรือ OIC และองค์กรเอกชนต่างๆ หรือ NGO และข้อ 5.รัฐบาลไทยต้องยอมรับบีอาร์เอ็น เป็นขบวนการปลดปล่อยชาวปาตานี ไม่ใช่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนนั้น เป็นการเสนอเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการเจรจาต่อไป และน่าจะพอยอมรับได้
         
โดยในข้อที่ 1. ที่จะให้ยอมรับให้มาเลเซีย เป็นคนกลางในการเจรจานั้น เป็นเรื่องที่น่าจะเอามาพิจารณาได้ เพราะมาเลเซียจะเป็นตัวจักรสำคัญในการที่จะทำให้อะไรๆ มันสามารถลื่นไหลไปได้ เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า แกนนำของกลุ่มบีอาร์เอ็น ส่วนใหญ่ก็อยู่ในประเทศมาเลเซีย   
         
ส่วนในข้อที่ 2. ที่จะให้บีอาร์เอ็นเป็นตัวหลักในการเจรจากับทางฝ่ายไทยนั้น ก็ถือเป็นเรื่องปกติ ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
          ข้อที่ 3. ที่ต้องการให้ OIC และ NGO เข้ามามีส่วนในการเจรจานั้น ก็น่าจะเป็นเรื่องที่รับได้ เพราะทั้งสององค์กรก็มีความมุ่งหวังจะให้เกิดสันติภาพใน 3 จังหวัดชายแดนใต้อยู่แล้ว และตนยังเชื่อว่า ทั้งสององค์กรจะเป็นพลังสำคัญ ที่จะทำให้การตกลงคุยกันในรายละเอียดมันง่ายขึ้น
         
และในข้อที่ 5. ที่บีอาร์เอ็นประกาศตัวว่า เป็นกลุ่มปลดปล่อย ไม่ใช่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนนั้น เท่ากับเป็นการประกาศไปในตัวว่าจะลดอุดมการณ์เดิมที่ต้องการเอกราช จากการแบ่งแยกดินแดน มาเป็นกลุ่มปลดปล่อยชาวปัตตานี ซึ่งก็น่าจะพอหารือกันในกรอบของรัฐธรรมนูญได้
อย่างไรก็ดี ในส่วนของข้อที่ 4. ที่เรียกร้องให้มีการปลดปล่อยกลุ่มแนวร่วม โดยไม่มีเงื่อนไขนั้น ส่วนตัวคิดว่า อาจจะต้องใช้เวลาสักหน่อย เพราะเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน เนื่องจากมีผู้ได้รับผลกระทบจำนวนมาก โดยเฉพาะประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ต้องเสียชีวิตไป จึงต้องมีการแยกแยะให้ละเอียดว่า แนวร่วมคนใดควรที่จะได้รับการปล่อยตัว หรือไม่อย่างไร
         
โดยอาจจะมีการพิจารณาว่า บุคคลใดที่สังหารประชาชนผู้บริสุทธิ์นั้น ก็ควรจะมีการพิจารณากันไปตามกฎหมายจะละเว้นไม่ได้ แต่ในส่วนของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับควาขัดแย้งเรื่องอุดมการณ์ทางด้านการเมืองนั้น ก็อาจจะมีการพิจารณาได้  ส่วนวิตกหรือไม่ว่า การดึงองค์กรต่างๆ เข้ามาร่วมการเจรจา จะทำให้เป็นการยกระดับให้บีอาร์เอ็น หรือเป็นการแทรกแซงกระบวนการภายในของไทยหรือไม่นั้น นายอารีเพ็ญ กล่าวว่า การเริ่มต้นการพูดคุยกับกลุ่มบีอาร์เอ็น ก็เท่ากับเป็นการยอมรับการมีตัวตนของกลุ่มบีอาร์เอ็นไปกลายๆ แล้ว นอกจากนี้ การดึงมาเลเซีย หรือ OIC และ NGO เข้ามามีส่วนร่วมนั้น น่าจะมีประโยชน์มากกว่าโทษ เพราะ OIC และมาเลเซีย ได้ประกาศชัดเจนแล้วว่าไม่เห็นด้วยกับการแบ่งแยกดินแดน และการดำเนินการใดๆ ต้องไม่ขัดต่อหลักอธิปไตยของไทย  อย่างไรก็ดี นายอารีเพ็ญ กล่าวยอมรับจากการดูคลิปวิดีโอดังกล่าว ตนเองยังไม่แน่ใจว่า เป็นการพูดในคราวเดียวกันและสถานที่เดียวกันหรือไม่ เพราะเท่าที่ได้รับฟังนั้น นายฮัสซัน ตอยิบ จะพูดในกรอบกว้างๆ ขณะที่นายอับดุลการิม คอลิบ กลับพูดเรื่อง 5 ข้อเสนอในการเจรจา จึงทำให้เกิดความไม่แน่ใจว่า ข้อเสนอทั้ง 5 ข้อนั้น เป็นข้อเสนอของ นายฮัสซัน ตอยิบ ผู้แทนกลุ่มบีอาร์เอ็น ที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้แทนฝ่ายไทยหรือไม่.