'กลุ่มวาดะห์' ชี้ 5 ข้อเสนอบีอาร์เอ็น น่ารับได้ 4 ข้อ



นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ ที่ปรึกษาดับไฟใต้ของ ...เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ชี้ 5 ข้อเสนอบีอาร์เอ็น น่ารับได้ 4 ข้อ เว้นข้อปล่อยแนวร่วม ต้องแยกแยะกลุ่มอุดมการณ์กับกลุ่มที่สังหารประชาชนผู้บริสุทธิ์...
          นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ สมาชิกกลุ่มวาดะห์ ในฐานะที่ปรึกษาดับไฟใต้ของ ...เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวกับ ไทยรัฐออนไลน์ ถึงกรณีที่ นายฮัสซัน ตอยิบ และนายอับดุลการิม คอลิบ แกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็น ได้โพสต์คลิปวิดีโอ เปิดเผย 5 ข้อเรียกร้องถึงรัฐบาลไทย ก่อนที่จะมีการพูดคุยรอบใหม่ในวันนี้ (29 เม.. 56) ว่า โดยส่วนตัวมองว่า ในข้อเรียกร้องทั้ง 5 ข้อ ไม่ใช่ข้อเรียกร้องที่ไกลเกินไปกว่าที่ได้คาดหมายเอาไว้ในตอนแรก และในข้อที่ 1. คือการให้ไทยยอมรับให้ประเทศมาเลเซียเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ย 2. การพูดคุยจะเป็นการพูดคุยระหว่างกลุ่มบีอาร์เอ็นและรัฐบาลไทย 3. การให้มีพยานจากอาเซียนและองค์การความร่วมมือแห่งศาสนาอิสลาม หรือ OIC และองค์กรเอกชนต่างๆ หรือ NGO และข้อ 5.รัฐบาลไทยต้องยอมรับบีอาร์เอ็น เป็นขบวนการปลดปล่อยชาวปาตานี ไม่ใช่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนนั้น เป็นการเสนอเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการเจรจาต่อไป และน่าจะพอยอมรับได้
         
โดยในข้อที่ 1. ที่จะให้ยอมรับให้มาเลเซีย เป็นคนกลางในการเจรจานั้น เป็นเรื่องที่น่าจะเอามาพิจารณาได้ เพราะมาเลเซียจะเป็นตัวจักรสำคัญในการที่จะทำให้อะไรๆ มันสามารถลื่นไหลไปได้ เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า แกนนำของกลุ่มบีอาร์เอ็น ส่วนใหญ่ก็อยู่ในประเทศมาเลเซีย   
         
ส่วนในข้อที่ 2. ที่จะให้บีอาร์เอ็นเป็นตัวหลักในการเจรจากับทางฝ่ายไทยนั้น ก็ถือเป็นเรื่องปกติ ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
          ข้อที่ 3. ที่ต้องการให้ OIC และ NGO เข้ามามีส่วนในการเจรจานั้น ก็น่าจะเป็นเรื่องที่รับได้ เพราะทั้งสององค์กรก็มีความมุ่งหวังจะให้เกิดสันติภาพใน 3 จังหวัดชายแดนใต้อยู่แล้ว และตนยังเชื่อว่า ทั้งสององค์กรจะเป็นพลังสำคัญ ที่จะทำให้การตกลงคุยกันในรายละเอียดมันง่ายขึ้น
         
และในข้อที่ 5. ที่บีอาร์เอ็นประกาศตัวว่า เป็นกลุ่มปลดปล่อย ไม่ใช่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนนั้น เท่ากับเป็นการประกาศไปในตัวว่าจะลดอุดมการณ์เดิมที่ต้องการเอกราช จากการแบ่งแยกดินแดน มาเป็นกลุ่มปลดปล่อยชาวปัตตานี ซึ่งก็น่าจะพอหารือกันในกรอบของรัฐธรรมนูญได้
อย่างไรก็ดี ในส่วนของข้อที่ 4. ที่เรียกร้องให้มีการปลดปล่อยกลุ่มแนวร่วม โดยไม่มีเงื่อนไขนั้น ส่วนตัวคิดว่า อาจจะต้องใช้เวลาสักหน่อย เพราะเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน เนื่องจากมีผู้ได้รับผลกระทบจำนวนมาก โดยเฉพาะประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ต้องเสียชีวิตไป จึงต้องมีการแยกแยะให้ละเอียดว่า แนวร่วมคนใดควรที่จะได้รับการปล่อยตัว หรือไม่อย่างไร
         
โดยอาจจะมีการพิจารณาว่า บุคคลใดที่สังหารประชาชนผู้บริสุทธิ์นั้น ก็ควรจะมีการพิจารณากันไปตามกฎหมายจะละเว้นไม่ได้ แต่ในส่วนของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับควาขัดแย้งเรื่องอุดมการณ์ทางด้านการเมืองนั้น ก็อาจจะมีการพิจารณาได้  ส่วนวิตกหรือไม่ว่า การดึงองค์กรต่างๆ เข้ามาร่วมการเจรจา จะทำให้เป็นการยกระดับให้บีอาร์เอ็น หรือเป็นการแทรกแซงกระบวนการภายในของไทยหรือไม่นั้น นายอารีเพ็ญ กล่าวว่า การเริ่มต้นการพูดคุยกับกลุ่มบีอาร์เอ็น ก็เท่ากับเป็นการยอมรับการมีตัวตนของกลุ่มบีอาร์เอ็นไปกลายๆ แล้ว นอกจากนี้ การดึงมาเลเซีย หรือ OIC และ NGO เข้ามามีส่วนร่วมนั้น น่าจะมีประโยชน์มากกว่าโทษ เพราะ OIC และมาเลเซีย ได้ประกาศชัดเจนแล้วว่าไม่เห็นด้วยกับการแบ่งแยกดินแดน และการดำเนินการใดๆ ต้องไม่ขัดต่อหลักอธิปไตยของไทย  อย่างไรก็ดี นายอารีเพ็ญ กล่าวยอมรับจากการดูคลิปวิดีโอดังกล่าว ตนเองยังไม่แน่ใจว่า เป็นการพูดในคราวเดียวกันและสถานที่เดียวกันหรือไม่ เพราะเท่าที่ได้รับฟังนั้น นายฮัสซัน ตอยิบ จะพูดในกรอบกว้างๆ ขณะที่นายอับดุลการิม คอลิบ กลับพูดเรื่อง 5 ข้อเสนอในการเจรจา จึงทำให้เกิดความไม่แน่ใจว่า ข้อเสนอทั้ง 5 ข้อนั้น เป็นข้อเสนอของ นายฮัสซัน ตอยิบ ผู้แทนกลุ่มบีอาร์เอ็น ที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้แทนฝ่ายไทยหรือไม่.


ไม่ได้ข้อสรุป! สมช.นัดถกบีอาร์เอ็นรอบหน้า13มิ.ย.ที่มาเลเซีย 'พล.ท.ภราดร' เลขาฯสมช.เผยBRNยอมรับ เสนอข้อเรียกร้องผ่านยูทูปจริง ขณะไทยแค่รับทราบ ชี้จับตาการลดความรุนแรงจนกว่าจะถึงนัดถกครั้งหน้า 13มิ.ย.



          พล..ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ภายหลังการพูดคุยกับกลุ่มบีอาร์เอ็นเสร็จสิ้นลง ว่า การพูดคุยฝ่ายเรามี 9คนและฝ่ายนั้นนำโดยนายฮัสซัน ตอยิบ โดยเพิ่มกลุ่มกองกำลังเยาวชนเพิ่มมา 1 คน เป็น 7 คน โดยใช้เวลานานพอสมควร ตั้งแต่11.00-21.00 .ตามเวลาท้องถิ่น ระหว่างการพูดคุยมีความตึงเครียดบ้าง แต่พอการพูดคุยจบลงต่างฝ่ายก็ยิ้มแย้มให้กัน การพูดคุยเราได้หยิบยก 5 ข้อที่เขาเสนอผ่านยูทูป โดยฝ่ายนั้นยอมรับว่าเป็นข้อเสนอของเขาจริง ฝ่ายเราในทางปฏิบัติทำได้เพียงรับทราบ และต้องกลับมาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจาก ข้อเสนอฝ่ายเขาเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย และยังมีความขัดแย้งอยู่ เช่นการให้โอไอซีเข้ามา ซึ่งจะทำให้ลดบทบาทมาเลเซียขณะเดียวกันยังเสนอให้มาเลเซียเข้ามาเป็นตัวกลาง เป็นต้น ทั้งนี้ฝ่ายเราได้สอบถามเรื่องลดความรนแรงในพื้นที่ เขาก็ยังยืนว่าเป็นตัวจริง และยืนยันว่าได้สื่อไปยังฝ่ายปฏิบัติการแล้ว แน่นอนว่าจากข้อเรียกร้อง อยากให้เราแสดงออกมา เขาพร้อมตอบสนองโดยเขาระบุว่าข้อเรียกร้องของเขามาจากประชาชนในพิ้นที่ ตรงนี้เราต้องดูข้อเท็จจริงก่อนก่อน ส่วนการลดความรุนแรงเราต้องจับตาดูนับตั้งแต่วันนี้จนถึงการพูดคุยครั้งหน้า โดยมีการนัดหมายพูดคุยครั้งต่อไปในวันที่ 13 มิ..แต่ในพื้นที่ก็ยังต้องระวังโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐ อย่างไรก็ตามแม้จะมีข้อเรียกร้องมา แต่การพูดคุยยังต้องทำควบคู่กันไป.


เจรจาไฟใต้ ใครคือกลุ่ม BRN?



ฮาซัน ตอยิบ ประธานกลุ่มบีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต เดินทางมาลงนามเจรจากับตัวแทนทางการไทย ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 28 .. โดยตกลงกรอบหารือร่วมกันของทั้งสองฝ่าย คือให้สองฝ่ายตั้งคณะกรรมการเพื่อพูดคุย ซึ่งการหารือรอบ 2 จะเริ่มในปลายเดือน มี.. นี้.
หลังกรณีวันที่ 28 .. ที่รัฐบาลไทยลงนามเจรจากับกลุ่มบีอาร์เอ็น BRN ที่มาเลเซีย หวังให้เป็นจุดเริ่มต้นในการคลี่คลายปัญหา3จังหวัดภาคใต้นั้นก็ได้เกิดข้อถกเถียงกันกว้างขวางประเด็นหลักสำคัญที่นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายต่างกังวลกันก็คือการเจรจาครั้งนี้ถูกกลุ่มถูกตัวหรือไม่เพราะเป็นที่ทราบกันมานาแล้วว่ากลุ่มผู้อยู่เบื้องหลังการก่อเหตุมันมีมากมายหลายสายจากการที่หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐมีโอกาสไปสนทนากับเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษที่ทำงานอยู่ใน3จังหวัดภาคใต้นั้นทำให้ทราบว่า
กลุ่มผู้ก่อการทั้งหมดนั้นมีอยู่6กลุ่มด้วยกันแต่งานนี้จะไม่ขอระบุรายละเอียดว่ากลุ่มทั้งหมดมีที่มาที่ไปอย่างไร เป็นใครกันบ้างในเมื่อรัฐบาลเจรจากับบีอาร์เอ็นก็ต้องพูดถึงแต่กลุ่มบีอาร์เอ็นเท่านั้นชื่อเต็มว่าขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี ชื่อมาเลเซียว่า บันซัน เรโวลูซี แนชนัล มลายูปัตตานี (Bansan Revolusi National Melayu Patani) ก่อตั้งเมื่อปี 2503 โดยอุสตาซอับดุลการิม ฮาสซัน ปัจจุบันกลุ่มดังกล่าวแตกออกเป็น 3 สายคือบีอาร์เอ็น คองเกรซ (BRN Congress) บีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต (BRN Coordinate) และบีอาร์เอ็น อูลามา (BRN Ulama)
ตอนนี้กลุ่มที่มีอำนาจมากที่สุดคือบีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต มี ฮาซัน ตอยิบเป็นประธาน โดยสถานภาพเป็นกลุ่มที่อิงผู้นำทางศาสนาและนักการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่น มีองค์กรด้านศาสนาดำเนินงานเอื้ออำนวยการเคลื่อนไหวและการคงอยู่ของกลุ่ม โดยจุดมุ่งหมายคือการแบ่งแยกดินแดนเพื่อปกครองแบบรัฐมุสลิมบริสุทธิ์ ครอบคลุม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 2 อำเภอใน .สงขลา คือนาทวี และสะบ้าย้อย
ฐานทางเศรษฐกิจมาจากการเรียกค่าดูแลในพื้นที่และเงินบริจาคมูลนิธิ...ที่เกี่ยวกับการศึกษา ซึ่งรายได้จากตรงนี้จะมีการแบ่งเข้าองค์กร 80 เปอร์เซ็นต์ โดยผ่านตัวกลางประสานงานระหว่างในพื้นที่กับระดับแกนนำในต่างประเทศ ส่วนที่เหลืออีก 20 เปอร์เซ็นต์ ก็จะแบ่งให้กับเหล่าสมาชิกที่เป็นคนเรียกเก็บเงินมา เพื่อเอาไว้เป็นกองทุนใช้จ่ายกันเองในกลุ่มการฝึกอบรมสมาชิกจะทำกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยแบ่งหลักสูตรไล่ตั้งแต่ปลายแถว รองหัวหน้าและหัวหน้ากลุ่มดูกันตามระดับความสามารถ ซึ่งในบางครั้งก็จะมีส่งออกไปร่วมฝึกกับกองกำลังติดอาวุธอื่นๆด้วย ทั้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง แอฟริกา ไปจนถึงอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และจากเอกสารที่ทางการยึดมาได้นั้นก็พบว่าทางกลุ่มมีความสัมพันธ์กับเครือข่ายก่อการร้ายสากล อัล เคดาด้วย
เกิดเหตุระเบิดมอเตอร์ไซค์บอมบ์ ที่จ.นราธิวาส ส่งผลให้เจ้าหน้าที่และชาวบ้านบาดเจ็บรวม 6 ราย เมื่อวันที่ 1 มี.. เพียง 1 วันหลังการลงนามเจรจาที่มาเลเซีย.แน่นอนสำหรับวิธีการปฏิบัติการนั้น จะใช้หลักกองโจรจรยุทธ์หลีกเลี่ยงการปะทะ ไม่มีการสร้างค่ายพักถาวร และมักจะหนีข้ามพรมแดนออกไปเป็นระยะๆ  ก่อนจะกลับเข้ามาอีกเมื่อสถานการณ์เอื้ออำนวย เมื่อเกิดกรณีที่ถูกปราบปรามจนเกิดความสูญเสียอย่างหนัก ก็จะทำการตอบโต้ทันทีเมื่อสบโอกาส ซึ่งมักจะดำเนินการพร้อมกับการเบี่ยงเบนความสนใจ  เช่น การก่อวินาศกรรมในเมืองและลอบสังหารเจ้าหน้าที่โดยชุดก่อเหตุที่ว่านี้จะเรียกว่า อาร์เคเค” (RKK) ย่อมาจากรุนดา กัมปูลัน เคซิล Runda Kumpulan Kecil ที่คนมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นอีกกลุ่มองค์กรหนึ่งซึ่งไม่ใช่ ความจริงมันเป็นชื่อเรียกของหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็วในพื้นที่ต่างหากพวกนี้จะฝังตัวอยู่ตามหมู่บ้าน มีความเข้มแข็งและปกปิดตัวเอง แม้แต่พ่อแม่ก็ไม่ทราบความเคลื่อนไหวที่ผิดปกติใดๆ มีหน่วยย่อยเป็นชุด ชุดละ 6 คน ซึ่งเป้าหมายของชุดปฏิบัติการนี้คืออยากให้มีนักรบหรือเยาวชนทหารรวมแล้วจังหวัดละ 1,000 คน 3 จังหวัดก็3,000คนหลักการก่อเหตุคือชี้เป้า เข้ายิง ยิงซ้ำ คุ้มกัน ถอนตัวเร็ว พอไปก่อเหตุและผลงานมากขึ้นนั้นก็จะมีการคัดตัวอีกขั้น เพื่อนำไปฝึกเพิ่มเติมยกระดับเป็น เยาวชนคอมมานโด” (Commando) หรือเยาวชนปฏิวัติ จากนั้นกลุ่มหัวกะทิของชุดนี้ก็จะเลื่อนขั้นขึ้นไปอีกเป็น ฮารีเมานักรบภูเขา” (Harimount)
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลของเจ้าหน้าที่ได้บ่งชี้ไว้ด้วยว่า สมาชิกใหม่ของขบวนการระยะหลัง ไม่ได้มีอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนที่เข้มข้นเหมือนสมาชิกรุ่นเก่าแล้ว จึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเป็นไปได้ไหม ที่เราจะให้เขาตอบคำถามในการหารือรอบ 2 ปลายเดือน มี.. นี้ ว่าแล้วคุณจะมีอะไรมายืนยันว่าสามารถไปพูดคุยกับแกนนำระดับปฏิบัติการหน้าใหม่ๆได้และหากคุยได้ก็มากน้อยเพียงใด?
          เพราะถ้าทางเขาหัวไปทาง ตัวไปทาง ยังไงมันก็ดูจะไม่เวิร์กเอาเสียเลย แต่อย่างว่าธรรมชาติของการเจรจามันต้องใช้ระยะเวลา คงต้องดูทิศทางกันต่อว่ามันจะมุ่งไปไหนและไกลเพียงใด.วีรพจน์ อินทรพันธ์