perkataan abdulkarim khalib dan ustaz hasan toyeb untuk perundingan




perundingan yang akan berlakuy pada masa akan datang

อับดุลการิม คอลิบ และ อุสตาซฮัสซัน ตอยิบ
ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี หรือ “บีอาร์เอ็น” ได้เผยแพร่คลิปวิดีโอลงในเว็บไซต์ยูทูบ ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์อุสตาซฮัสซัน ตอยิบ และนายอับดุลการิม คอลิบ หนึ่งในตัวแทนบีอาร์เอ็น ผู้เข้าร่วมการสนทนากับคณะผู้แทนรัฐบาลไทยเมื่อ 28 มี..ที่ผ่านมา
            
นายชินทาโร่ ฮาร่า อาจารย์สอนวิชาภาษามลายูแห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้เผยแพร่คำแปลฉบับชั่วคราวของเนื้อหาในวิดีโอจากภาษามลายูออกสู่สาธารณะ เมื่อวันที่ 27เม.. ระบุว่ากลุ่มบีอาร์เอ็นได้เสนอเงื่อนไข 5 ข้อก่อนจะมีการสนทนาระหว่างผู้ปกครองชาวสยามและกลุ่มบีอาร์เอ็นในวันที่ 29 เม..ที่จะถึง ได้แก่ (1) ผู้ปกครองชาวสยามจะต้องยอมรับบทบาทของรัฐบาลมาเลเซียในฐานะ “ตัวกลาง” การสนทนา (2การสนทนาที่จะเกิดขึ้นจะจำกัดวงเฉพาะตัวแทนชาวมลายู ซึ่งนำโดยกลุ่มบีอาร์เอ็น ร่วมกับคณะผู้ปกครองชาวสยาม (3) จะต้องอนุญาตให้กลุ่มผู้สังเกตการณ์จากกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนองค์การความร่วมมือแห่งศาสนาอิสลาม (โอไอซี) และองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ (เอ็นจีโอ) เข้าร่วมในการสนทนาด้วย (4) ผู้ปกครองชาวสยามจะต้องปล่อยตัวผู้ต้องหาอย่างไม่มีเงื่อนไข และจะต้องระงับการออกหมายจับผู้ต้องสงสัย และ (5) จะต้องยอมรับสถานะของกลุ่มบีิอาร์เอ็นในฐานะองค์กรเพื่อการปลดปล่อยปาตานี มิใช่กลุ่มแบ่งแยกดินแดน

perundingan yang akan berlakuy pada masa akan datang


อับดุลการิม คอลิบ และ อุสตาซฮัสซัน ตอยิบ
ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี หรือ บีอาร์เอ็นได้เผยแพร่คลิปวิดีโอลงในเว็บไซต์ยูทูบ ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์อุสตาซฮัสซัน ตอยิบ และนายอับดุลการิม คอลิบ หนึ่งในตัวแทนบีอาร์เอ็น ผู้เข้าร่วมการสนทนากับคณะผู้แทนรัฐบาลไทยเมื่อ 28 มี..ที่ผ่านมา
            นายชินทาโร่ ฮาร่า อาจารย์สอนวิชาภาษามลายูแห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้เผยแพร่คำแปลฉบับชั่วคราวของเนื้อหาในวิดีโอจากภาษามลายูออกสู่สาธารณะ เมื่อวันที่ 27 เม.. ระบุว่ากลุ่มบีอาร์เอ็นได้เสนอเงื่อนไข 5 ข้อก่อนจะมีการสนทนาระหว่างผู้ปกครองชาวสยามและกลุ่มบีอาร์เอ็นในวันที่ 29 เม..ที่จะถึง ได้แก่ (1) ผู้ปกครองชาวสยามจะต้องยอมรับบทบาทของรัฐบาลมาเลเซียในฐานะ ตัวกลางการสนทนา (2) การสนทนาที่จะเกิดขึ้นจะจำกัดวงเฉพาะตัวแทนชาวมลายู ซึ่งนำโดยกลุ่มบีอาร์เอ็น ร่วมกับคณะผู้ปกครองชาวสยาม (3) จะต้องอนุญาตให้กลุ่มผู้สังเกตการณ์จากกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน, องค์การความร่วมมือแห่งศาสนาอิสลาม (โอไอซี) และองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ (เอ็นจีโอ) เข้าร่วมในการสนทนาด้วย (4) ผู้ปกครองชาวสยามจะต้องปล่อยตัวผู้ต้องหาอย่างไม่มีเงื่อนไข และจะต้องระงับการออกหมายจับผู้ต้องสงสัย และ (5) จะต้องยอมรับสถานะของกลุ่มบีิอาร์เอ็นในฐานะองค์กรเพื่อการปลดปล่อยปาตานี มิใช่กลุ่มแบ่งแยกดินแดน



   ก้าวย่างที่สำคัญของการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กำลังเดินมาสู่กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทย นำโดย พล..ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กับ ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชปาตานี ชื่อว่า B.R.N. Coordinate
 เส้นทางการสู้รบที่ดำเนินต่อเนื่องมานับ 10 ปี ก่อนที่ปัญหาความรุนแรงจะถูกหยิบยกสู่การตั้งโต๊ะเจรจาที่ประเทศมาเลเซียในวันที่ 28 มีนาคม 2556  ถือเป็นการเปลี่ยนผ่านจากการใช้ความรุนแรงไปสู่กระบวนการพูดคุยเจรจาอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม การพูดคุยครั้งนี้คงไม่อาจยุติความรุนแรงในพื้นที่ได้ชั่วข้ามคืน  เพราะความแตกแยก ความไม่ไว้วางใจได้ร้าวลึกในความรู้สึกของผู้คน แต่กระบวนการสร้างสันติภาพที่มีความต่อเนื่อง บนพื้นฐานการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน จะนำมาสู่ขั้นตอนการเจรจาต่อรอง เพื่อการหาข้อสรุปที่ทุกฝ่ายยอมรับกันได้ในอนาคต เป็นมุมมอง รอมฎอน ปันจอร์ ผู้ปฏิบัติการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ เน้นย้ำถึงการความเข้าใจต่อกระบวนการสันติภาพที่กำลังดำเนินการอยู่

hak yang ada kuasa untuk berhanti masalah yang ber laku ada rakyat patani semua bukan orang seorang bulih mengambil keputusan, karena itu punyaan rakyat patani bukan milik pribadi


            ผู้ทรงคุณวุฒิจังหวัดยะลา เชื่อป้ายผ้าทั่ว 3 จังหวัดชายแดนใต้ เรียกร้องเจรจากับผู้มีอำนาจ  ไม่ใช่ไม่รับเจรจา แนะภาครัฐพูดภาษาเดียวกันให้เป็นเอกภาพก่อนมาเจรจา ...
            วันที่ 12 เมษายน นายนิมุ มะกาเจ ผู้ทรงคุณวุฒิจังหวัดยะลา และอดีตรองประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา เปิดเผยถึงกรณี ที่มีการขึงผืนผ้าทั่วพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 2 อำเภอในจังหวัดสงขลา ว่า ฝ่ายผู้ก่อการได้แสดงถึงว่า เขามีผู้ทำงาน มีศักยภาพ จะเป็นกลุ่มเปอมูดอ หรือกลุ่มอื่นๆ การติดตั้งในที่สูงๆ นั้น แสดงให้เห็นว่า การติดตั้งต้องใช้เวลา ข้อสำคัญการเขียน ถ้าไปตรวจสอบให้ชัด ลีลาหรือลายมือ การเขียนแตกต่างกัน แสดงว่าการเขียนนั้นได้แบ่งชัดเจนว่าจุดใครจุดมัน เท่าที่ได้ติดตามข่าว มีการแปลจากสื่อที่ผิดๆ ข้อเท็จจริงที่ได้อ่านข้อความที่ถูกต้องคือ ต้องแปลว่า การเจรจาสันติภาพต้องเจรจากับผู้มีอำนาจ ดังนั้น ขอเรียกร้องให้ตีความให้ถูกต้องว่า ผู้มีอำนาจที่ว่านั้นเป็นใคร และคำที่เขียนออกมานั้น ให้ผู้มีอำนาจไปวิเคราะห์ว่า การที่เขาเขียนมานั้นเป็นการเตือนใครอย่างไร ไม่ถึงกับการห้ามเจรจา เพียงแต่การคัดสรรผู้ไปเจรจากับผู้มารับการเจรจาอยู่ในระดับใดจึงจะเป็นที่ยอมรับ
            นายนิมุ ยังกล่าวอีกว่า ต้องยอมรับว่าเหตุที่เกิดขึ้นในพื้นที่บ้านเรา เกิดขึ้นจากหลายๆ กลุ่ม มีทั้งผู้สนับสนุน ผู้ค้าน ผู้แสวงหาผลประโยชน์ร่วม เพราะฉะนั้น การเกิดเหตุเช่นนี้ คงจะเกิดขึ้นเรื่อยๆ ไปจนกว่าจะมีอำนาจที่สั่งการหรือสั่งห้ามได้อย่างเด็ดขาด ดังนั้น ตนอยากให้คนของรัฐหันมาพูดภาษาเดียวกันก่อน ให้เกิดความเอกภาพก่อน ขณะนี้ชาวบ้านเฝ้าจับตาดูว่า ฝ่ายรัฐนั้นมีความเป็นเอกภาพในเรื่องดังกล่าวหรือไม่ เท่าที่ตนมองว่าขณะนี้ทั้ง ทหาร ตำรวจฝ่ายปกครอง หรือผู้นำประเทศ ยังไปคนละทางกันอยู่ สรุปว่าผู้ที่ทำป้ายผ้าเหล่านี้ต้องการให้หาผู้รับการเจรจาที่มีอำนาจสูงสุด.