เจรจาไฟใต้ ใครคือกลุ่ม BRN?



ฮาซัน ตอยิบ ประธานกลุ่มบีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต เดินทางมาลงนามเจรจากับตัวแทนทางการไทย ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 28 .. โดยตกลงกรอบหารือร่วมกันของทั้งสองฝ่าย คือให้สองฝ่ายตั้งคณะกรรมการเพื่อพูดคุย ซึ่งการหารือรอบ 2 จะเริ่มในปลายเดือน มี.. นี้.
หลังกรณีวันที่ 28 .. ที่รัฐบาลไทยลงนามเจรจากับกลุ่มบีอาร์เอ็น BRN ที่มาเลเซีย หวังให้เป็นจุดเริ่มต้นในการคลี่คลายปัญหา3จังหวัดภาคใต้นั้นก็ได้เกิดข้อถกเถียงกันกว้างขวางประเด็นหลักสำคัญที่นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายต่างกังวลกันก็คือการเจรจาครั้งนี้ถูกกลุ่มถูกตัวหรือไม่เพราะเป็นที่ทราบกันมานาแล้วว่ากลุ่มผู้อยู่เบื้องหลังการก่อเหตุมันมีมากมายหลายสายจากการที่หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐมีโอกาสไปสนทนากับเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษที่ทำงานอยู่ใน3จังหวัดภาคใต้นั้นทำให้ทราบว่า
กลุ่มผู้ก่อการทั้งหมดนั้นมีอยู่6กลุ่มด้วยกันแต่งานนี้จะไม่ขอระบุรายละเอียดว่ากลุ่มทั้งหมดมีที่มาที่ไปอย่างไร เป็นใครกันบ้างในเมื่อรัฐบาลเจรจากับบีอาร์เอ็นก็ต้องพูดถึงแต่กลุ่มบีอาร์เอ็นเท่านั้นชื่อเต็มว่าขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี ชื่อมาเลเซียว่า บันซัน เรโวลูซี แนชนัล มลายูปัตตานี (Bansan Revolusi National Melayu Patani) ก่อตั้งเมื่อปี 2503 โดยอุสตาซอับดุลการิม ฮาสซัน ปัจจุบันกลุ่มดังกล่าวแตกออกเป็น 3 สายคือบีอาร์เอ็น คองเกรซ (BRN Congress) บีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต (BRN Coordinate) และบีอาร์เอ็น อูลามา (BRN Ulama)
ตอนนี้กลุ่มที่มีอำนาจมากที่สุดคือบีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต มี ฮาซัน ตอยิบเป็นประธาน โดยสถานภาพเป็นกลุ่มที่อิงผู้นำทางศาสนาและนักการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่น มีองค์กรด้านศาสนาดำเนินงานเอื้ออำนวยการเคลื่อนไหวและการคงอยู่ของกลุ่ม โดยจุดมุ่งหมายคือการแบ่งแยกดินแดนเพื่อปกครองแบบรัฐมุสลิมบริสุทธิ์ ครอบคลุม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 2 อำเภอใน .สงขลา คือนาทวี และสะบ้าย้อย
ฐานทางเศรษฐกิจมาจากการเรียกค่าดูแลในพื้นที่และเงินบริจาคมูลนิธิ...ที่เกี่ยวกับการศึกษา ซึ่งรายได้จากตรงนี้จะมีการแบ่งเข้าองค์กร 80 เปอร์เซ็นต์ โดยผ่านตัวกลางประสานงานระหว่างในพื้นที่กับระดับแกนนำในต่างประเทศ ส่วนที่เหลืออีก 20 เปอร์เซ็นต์ ก็จะแบ่งให้กับเหล่าสมาชิกที่เป็นคนเรียกเก็บเงินมา เพื่อเอาไว้เป็นกองทุนใช้จ่ายกันเองในกลุ่มการฝึกอบรมสมาชิกจะทำกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยแบ่งหลักสูตรไล่ตั้งแต่ปลายแถว รองหัวหน้าและหัวหน้ากลุ่มดูกันตามระดับความสามารถ ซึ่งในบางครั้งก็จะมีส่งออกไปร่วมฝึกกับกองกำลังติดอาวุธอื่นๆด้วย ทั้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง แอฟริกา ไปจนถึงอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และจากเอกสารที่ทางการยึดมาได้นั้นก็พบว่าทางกลุ่มมีความสัมพันธ์กับเครือข่ายก่อการร้ายสากล อัล เคดาด้วย
เกิดเหตุระเบิดมอเตอร์ไซค์บอมบ์ ที่จ.นราธิวาส ส่งผลให้เจ้าหน้าที่และชาวบ้านบาดเจ็บรวม 6 ราย เมื่อวันที่ 1 มี.. เพียง 1 วันหลังการลงนามเจรจาที่มาเลเซีย.แน่นอนสำหรับวิธีการปฏิบัติการนั้น จะใช้หลักกองโจรจรยุทธ์หลีกเลี่ยงการปะทะ ไม่มีการสร้างค่ายพักถาวร และมักจะหนีข้ามพรมแดนออกไปเป็นระยะๆ  ก่อนจะกลับเข้ามาอีกเมื่อสถานการณ์เอื้ออำนวย เมื่อเกิดกรณีที่ถูกปราบปรามจนเกิดความสูญเสียอย่างหนัก ก็จะทำการตอบโต้ทันทีเมื่อสบโอกาส ซึ่งมักจะดำเนินการพร้อมกับการเบี่ยงเบนความสนใจ  เช่น การก่อวินาศกรรมในเมืองและลอบสังหารเจ้าหน้าที่โดยชุดก่อเหตุที่ว่านี้จะเรียกว่า อาร์เคเค” (RKK) ย่อมาจากรุนดา กัมปูลัน เคซิล Runda Kumpulan Kecil ที่คนมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นอีกกลุ่มองค์กรหนึ่งซึ่งไม่ใช่ ความจริงมันเป็นชื่อเรียกของหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็วในพื้นที่ต่างหากพวกนี้จะฝังตัวอยู่ตามหมู่บ้าน มีความเข้มแข็งและปกปิดตัวเอง แม้แต่พ่อแม่ก็ไม่ทราบความเคลื่อนไหวที่ผิดปกติใดๆ มีหน่วยย่อยเป็นชุด ชุดละ 6 คน ซึ่งเป้าหมายของชุดปฏิบัติการนี้คืออยากให้มีนักรบหรือเยาวชนทหารรวมแล้วจังหวัดละ 1,000 คน 3 จังหวัดก็3,000คนหลักการก่อเหตุคือชี้เป้า เข้ายิง ยิงซ้ำ คุ้มกัน ถอนตัวเร็ว พอไปก่อเหตุและผลงานมากขึ้นนั้นก็จะมีการคัดตัวอีกขั้น เพื่อนำไปฝึกเพิ่มเติมยกระดับเป็น เยาวชนคอมมานโด” (Commando) หรือเยาวชนปฏิวัติ จากนั้นกลุ่มหัวกะทิของชุดนี้ก็จะเลื่อนขั้นขึ้นไปอีกเป็น ฮารีเมานักรบภูเขา” (Harimount)
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลของเจ้าหน้าที่ได้บ่งชี้ไว้ด้วยว่า สมาชิกใหม่ของขบวนการระยะหลัง ไม่ได้มีอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนที่เข้มข้นเหมือนสมาชิกรุ่นเก่าแล้ว จึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเป็นไปได้ไหม ที่เราจะให้เขาตอบคำถามในการหารือรอบ 2 ปลายเดือน มี.. นี้ ว่าแล้วคุณจะมีอะไรมายืนยันว่าสามารถไปพูดคุยกับแกนนำระดับปฏิบัติการหน้าใหม่ๆได้และหากคุยได้ก็มากน้อยเพียงใด?
          เพราะถ้าทางเขาหัวไปทาง ตัวไปทาง ยังไงมันก็ดูจะไม่เวิร์กเอาเสียเลย แต่อย่างว่าธรรมชาติของการเจรจามันต้องใช้ระยะเวลา คงต้องดูทิศทางกันต่อว่ามันจะมุ่งไปไหนและไกลเพียงใด.วีรพจน์ อินทรพันธ์




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น